


พัฒนาคน
พัฒนางาน
ฝูงชนกำเนิดคล้าย คลึงกัน
ใหญ่ย่อมเพศผิวพรรณ แผกบ้าง
ความรู้อาจเรียนทัน กันหมด
ยกแต่ชั่วดีกระด้าง ห่อนแก้ฤาไหว
พัฒนา EEC
ปรัชญา Philosophy

เป้าหมาย Goals
1
2
การพัฒนากำลังคนไปสู่ความเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ สามารถดำรงชีวิตสามารถอยู่กับผู้อื่น ได้อย่างมีความสุข และมีคุณภาพในการที่จะพัฒนาชุมชน ท้องถิ่น และประเทศต่อไป
กระบวนการที่มุ่งเปลี่ยนแปลงหรือปรับปรุง วิธีการต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการทำงาน เพื่อให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล เกิดอาชีพเกิดรายได้

สถาบันพัฒนาศักยภาพกำลังคน หมายถึง หน่วยงานที่จัดตั้งขึ้นเพื่อทำการศึกษา วิจัย ด้านการพัฒนาศักยภาพกำลังคน มีลักษณะ 2 ลักษณะ คือ
1) เป็นสถาบันจัดตั้ง ณ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
2) เป็นสำนักงานเสมือนจริง เข้าถึงได้จาก https://www.iipmeecofficial.com/
มี 6 องค์ประกอบสำคัญดังภาพ
วิสัยทัศน์ (Vision)
ภาษาไทย : “เป็นสถาบันหลักนำภูมิปัญญาสากลเพื่อเพิ่มศักยภาพของกำลังคน”
ภาษาอังกฤษ : “Wisdom of Universal for increase the Potential of the manpower ”
คำอธิบาย
สถาบันพัฒนาศักยภาพกำลังคน เป็นชุมชนการเรียนรู้เกี่ยวกับการพัฒนาศักยภาพกำลังคนทุกมิติด้วยองค์ความรู้สากล
ให้เป็นประโยชน์ต่อเศรษฐกิจสังคม วัฒนธรรมและความมั่นคงของประเทศโดยเฉพาะเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (EEC)
พันธกิจ (Mission)
-
พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานเกี่ยวกับการพัฒนาศักยภาพกำลังคนให้เป็นประโยชน์ต่อเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม และความมั่นคงของประเทศ
-
ให้บริการฝึกอบรม ให้คำปรึกษาทางวิชาการและเทคนิคเพื่อการพัฒนาศักยภาพกำลังคน
-
ขยายโอกาสการเรียนรู้และการพัฒนาศักยภาพกำลังคนให้เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (EEC)
-
วิจัยและพัฒนานวัตกรรม การพัฒนาศักยภาพกำลังคนสู่ความเป็นเลิศด้านการการพัฒนาศักยภาพกำลังคน
-
ส่งเสริม/พัฒนาเครือข่ายพันธมิตรการพัฒนาศักยภาพกำลังคน ทั้งในและนอกมหาวิทยาลัย ในรูปแบบเครือข่ายหุ้นส่วน (Partner)
วัตถุประสงค์ (Objective)
-
เพื่อเป็นศูนย์การพัฒนาศักยภาพกำลังคนให้แก่กำลังคนทุกมิติ ทุกช่วงวัยอย่างมีคุณภาพ
-
เพื่อเป็นศูนย์รวมโครงสร้างพื้นฐานเกี่ยวกับการพัฒนาศักยภาพกำลังคน ให้เป็นประโยชน์ต่อเศรษฐกิจสังคมวัฒนธรรม และความมั่นคงของประเทศ โดยเฉพาะเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (EEC)
-
เพื่อพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานเกี่ยวกับการพัฒนาศักยภาพกำลังคน ให้เป็นประโยชน์ต่อเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม และความมั่นคงของประเทศ
-
เพื่อขยายโอกาสการเรียนรู้และการพัฒนาศักยภาพกำลังคน ให้เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (EEC)
-
เพื่อวิจัยและพัฒนานวัตกรรมการพัฒนาศักยภาพกำลังคน สู่ความเป็นเลิศด้านการการพัฒนาศักยภาพกำลังคน
-
เพื่อส่งเสริม/พัฒนาเครือข่ายพันธมิตรการพัฒนาศักยภาพกำลังคน ทั้งในและนอกมหาวิทยาลัยในรูปแบบเครือข่ายหุ้นส่วน (Partner)
ทรัพยากร Resource
3
คน คือ ทรัพยากรมนุษย์หรือกำลังคน ซึ่งเป็นผู้สร้างสรรค์ริเริ่มก่อตั้งสถาบันเป็นผู้ที่กำหนด ทิศทางโดยการวางแผนการทำงานให้กับของสถาบันและการตัดสินใจตลอดจนวิธีการจัดการกับปัญหาที่เกิดขึ้นกับสถาบัน
ซึ่งกำหนดเป็นผู้บริหาร หัวหน้าหน่วย และพนักงาน รายละเอียดดังต่อไปนี้
คณะผู้วิจัย

อาจารย์ประจำภาควิชานวัตกรรมและเทคโนโลยีการศึกษา
คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
ตำแหน่ง : หัวหน้าโครงการ
ดร.ดำรัส อ่อนเฉวียง

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ทรงยศ บัวเผื่อน
อาจารย์ประจำภาควิชานิเทศศาสตร์
คณะมนุษย์ศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา


อาจารย์ประจำภาควิชานวัตกรรมและเทคโนโลยีการศึกษา
คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
ดร.ภูเบศ เลื่อมใส

ดร.สุขมิตร กอมณี
อาจารย์ประจำภาควิชานวัตกรรมและเทคโนโลยีการศึกษา
คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา

อาจารย์ประจำภาควิชาภาษาต่างประเทศ
คณะมนุษย์ศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
ดร.อรอุษา พิมพ์สวัสดิ์



อ.บุษบง แซ่จิว
อาจารย์ประจำสถาบันภาษา
คณะมนุษย์ศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา


นายจักรวาล เหมหงษา
ผู้ช่วยนักวิจัย

ผู้ช่วยนักวิจัย
นายวัชสิทธิ์ ผลถาวรสุข

ผู้ช่วยนักวิจัย
นางสาววินิตา แก้วคำ

4

โครงสร้าง Structure









กระบวนการ (Process)
5
กระบวนการ : วิธีการดำเนินงานตามแผนงานให้บรรลุวัตถุประสงค์หลักของสถาบัน

สถาบันพัฒนาศักยภาพกำลังกำหนดกระบวนการ PODCC โดยมีรายละเอียดดังต่อไปนี้
1) การวางแผน (Planning) หมายถึง การกำหนดแนวทางของการดำเนินการไว้ล่วงหน้าเกี่ยวกับนโยบาย วัตถุประสงค์ กิจกรรม ทรัพยากร และระยะเวลาการดำเนินการเพื่อบรรลุเป้าหมายและนโยบายที่วางไว้
2) การจัดองค์การและการจัดคนเข้าทำงาน (Organizing and staffing) หมายถึง การจำแนกงาน การจัดกลุ่มงาน การกำหนดอำนาจหน้าที่ความรับผิดชอบการมอบหมายงานและการกำหนดผู้รับผิดชอบ
3) การอำนวยการและการสั่งการ (Directing) หมายถึง การส่งเสริม สนับสนุน แนะนำนิเทศ ประสานงาน เพื่ออำนวยความสะดวกให้การดำเนินงานเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ
4) การควบคุม (Controlling) หมายถึง การกำกับ ติดตามตรวจสอบการทำงาน และการดำเนินการแกไข เพื่อให้การปฏิบัติงานเป็นไปตามแผนงานที่กำหนดไว้
5) การประสานงาน (Coordinating/Cross-functional team) หมายถึง การร่วมใจ ร่วมมือ ร่วมแรง ในการปฏิบัติหน้าที่การงานของบุคลากรในองค์การตั้งแต่สองคนขึ้นไป โดยมีสัมพันธภาพที่ดีต่อกันในการร่วมกัน ทำงานให้สอดคล้องกัน เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน เพื่อการบรรลุเป้าหมายหรือวัตถุประสงค์ของงานที่วางไว้
6

การประเมินปรับปรุง (Evaluation and Improvement)
การประเมินปรับปรุง (Evaluation and Improvement) มีวัตถุประสงค์เพื่อการทบทวนระบบการดำเนินงานของสถาบันพัฒนาศักยภาพทั้งหมด เพื่อระบุจุดแข็ง จุดอ่อน โอกาส อุปสรรค เพื่อกำหนดแนวทางการดำเนินงานในวงรอบถัดไป

กระบวนการการประเมินปรับปรุง (Evaluation and Improvement) มีดังต่อไปนี้
1. ขั้นกำหนดวัตถุประสงค์ (Objective) การกำหนดเป้าประสงค์ กำหนดทิศทาง ทิศทาง และค่าเป้าหมายเพื่อเป็นจุดสำคัญเพื่อเปรียบเทียบผลการดำเนินงานของสถาบันพัฒนาศักยภาพกำลังคนที่ชัดเจนของแผนงานและสถาบันพัฒนาศักยภาพกำลังคน ทั้งนี้เพื่อให้เกิดความมั่นใจว่า ผู้บริหาร และพนักงานทุกคนกำลัง ดำเนินการเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ขององค์กร
2. ขั้นวิเคราะห์ผลการดำเนินงาน (Result analysis) การใช้ข้อมูลจากการดำเนินงานของสถาบันพัฒนาศักยภาพกำลังคนมา ทบทวนระบบการดำเนินงานของสถาบันพัฒนาศักยภาพทั้งหมด เพื่อระบุจุดแข็ง จุดอ่อน โอกาส อุปสรรค
3. ขั้นเปรียบเทียบเพื่อหาช่องว่าง (Gap) การเปรียบเทียบผลการดำเนินงานของสถาบันพัฒนาศักยภาพกำลังคน กับวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้
4. การประเมินเพื่อปรับปรุง (Evaluation for Improvement) การนำผลการการเปรียบเทียบ ผลการดำเนินงานของสถาบันพัฒนาศักยภาพกำลังคน กับวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้ และวิเคราะห์ผลการดำเนินงาน มากำหนดแนวทางปรับปรุง
5. การกำหนดยุทธศาสตร์ (Strategic) การนำผลการดำเนินงาน แนวทางปรับปรุงการดำเนินงาน และบริบทของสถาบันพัฒนาศักยภาพกำลังคนในเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (EEC) มากำหนดทิศทาง แนวทาง และวิธีการดำเนินการของสถาบันพัฒนาศักยภาพกำลังคนในวงรอบถัดไป