top of page

ทฤษฎีการวางเงื่อนไข
(Conditioning Theory)

     ทฤษฎีการวางเงื่อนไข (Conditioning Theory)
ประกอบด้วยทฤษฏี ดังต่อไปนี้

1) ทฤษฏีการวางเงื่อนไขแบบคลาสสิคของพาฟลอฟ
(Pavlov’s Classical Conditioning) (Pavlov, I. P. ,1927) เน้นการตอบ
สนองต่อสิ่งเร้าที่วางเงื่อนไข  สรุปแนวคิดตามทฤษฏีนี้ได้ว่า  การเรียนรู้ของ
สิ่งมีชีวิตเกิดจากการตอบสนองต่อสิ่งเร้าที่วางเงื่อนไข

ภาพประกอบที่ 2 แสดงการวางเงื่อนไขแบบคลาสสิคของพาฟลอฟ.png
ภาพประกอบที่ 1 การเรียนรู้รูปแบบวางเงื่อนไข.jpg

ภาพประกอบที่ 1 การเรียนรู้รูปแบบวางเงื่อนไข

ภาพประกอบที่ 2 แสดงการวางเงื่อนไขแบบคลาสสิคของพาฟลอฟ

2) ทฤษฏีการวางเงื่อนไขแบบคลาสสิคของวัตสัน (Watson’s Classical Conditioning)  (Watson, John B. , 1913) เน้นการตอบสนองต่อสิ่งเร้าที่วางเงื่อนไขเช่นกัน สรุปแนวคิดตามทฤษฏีนี้ได้ว่า พฤติกรรมเป็นสิ่งที่สามารถควบคุมให้เกิดขึ้นได้ โดยการควบคุมสิ่งเร้าที่วางเงื่อนไขให้สัมพันธ์กับสิ่งเร้าตามธรรมชาติ และการเรียนรู้จะคงทนถาวรหากมีการให้สิ่งเร้าที่สัมพันธ์กันนั้นควบคู่กันไปอย่างสม่ำเสมอ และเมื่อสามารถทำให้เกิดพฤติกรรมใด ๆ ได้ ก็สามารถลดพฤติกรรมนั้นให้หายไปได้

ภาพประกอบที่ 3 แสดงการวางเงื่อนไขแบบคลาสสิคของวัตสัน.png

ภาพประกอบที่ 3 แสดงการวางเงื่อนไขแบบคลาสสิคของวัตสัน

3) ทฤษฏีการวางเงื่อนไขแบบโอเปอร์แรนต์ของสกินเนอร์ (Skinner’s Operant Conditioning)(Skinner, B. F., 1979.)  สกินเนอร์ได้แบ่ง    พฤติกรรมของสิ่งมีชีวิตไว้ 2  แบบ  คือ 
              3.1) Respondent Behavior พฤติกรรมหรือการตอบสนองที่เกิดขึ้นโดยอัตโนมัติ   หรือเป็นปฏิกิริยาสะท้อน  (Reflex)  ซึ่งสิ่งมีชีวิตไม่สามารถควบคุมตัวเองได้  เช่น การกระพริบตา น้ำลายไหล หรือการเกิดอารมณ์ ความรู้สึกต่างๆ
              3.2) Operant Behavior พฤติกรรมที่เกิดจากสิ่งมีชีวิตเป็นผู้กำหนด  หรือเลือกที่จะแสดงออกมา   ส่วนใหญ่จะเป็นพฤติกรรมที่บุคคลแสดงออกในชีวิตประจำวัน
   
      นอกจากนี้สกินเนอร์ได้เสนอทฤษฎีการวางเขื่อนไขแบบการกระทำของสกินเนอร์ (Skinner's Operant Conditioning Theory) ดังนี้

           1) การเสริมแรง (Reinforcement)  คือการทำให้อัตราการตอบสนองหรือความถี่ของการแสดงพฤติกรรมเพิ่มขึ้นอันเป็นผลจากการได้รับสิ่งเสริมแรง (Reinforce) ที่เหมาะสม การเสริมแรงมี  2 ทาง ได้แก่
               1.1) การเสริมแรงทางบวก (Positive Reinforcement ) เป็นการให้สิ่งเสริมแรงที่บุคคลพึงพอใจ มีผลทำให้บุคคลแสดงพฤติกรรมถี่ขึ้น
               1.2) การเสริมแรงทางลบ (Negative Reinforcement) เป็นการนำเอาสิ่งที่บุคคลไม่พึงพอใจออกไป มีผลทำให้บุคคลแสดงพฤติกรรมถี่ขึ้น

           2) การลงโทษ  (Punishment) คือ  การทำให้อัตราการตอบสนองหรือความถี่ของการแสดงพฤติกรรมลดลง    การลงโทษมี  2  ทาง   ได้แก่
               2.1) การลงโทษทางบวก (Positive Punishment) เป็นการให้สิ่งเร้าที่บุคคลที่ไม่พึงพอใจ  มีผลทำให้บุคคลแสดงพฤติกรรมลดลง
               2.2) การลงโทษทางลบ (Negative Punishment) เป็นการนำสิ่งเร้าที่บุคคลพึงพอใจ หรือสิ่งเสริมแรงออกไป มีผลทำให้บุคคลแสดงพฤติกรรมลดลง

ภาพประกอบที่ 4 แสดงการวางเงื่อนไขแบบโอเปอร์แรนต์ของสกินเนอร์.png

ภาพประกอบที่ 4 แสดงการวางเงื่อนไขแบบโอเปอร์แรนต์ของสกินเนอร์

อ้างอิง
Pavlov, I. P. (1927). Conditioned reflexes: an investigation of the physiological activity of the 
    cerebral cortex. Oxford Univ. Press.
Skinner, B. F. (1979.) Beyond Freedom and Dignity, Englewood Cilffts, N. J : Prentice-Hall
Watson, John B. (1913). Psychology as the Behaviorist Views it. Psychological Review, 20, 
    158-177

 

bottom of page