top of page

ทฤษฎีปัญญาสังคมเน้นหลักการเรียนรู้โดยการสังเกต
(Observational Learning)

     ทฤษฎีการเรียนรู้ทางสังคม เป็นทฤษฎีของ อัลเบิร์ต บันดูรา ที่เกิดขึ้นในประมาณยุค 70 ทฤษฎีนี้บอกว่าเด็กจะเลียนแบบสิ่งที่ดีและไม่ดีทั้งหลายจากผู้ใหญ่

ภาพประกอบที่ 1 การเรียนรู้โดยการสังเกต.jpg

ภาพประกอบที่ 1 การเรียนรู้โดยการสังเกต

ที่มา : https://www.new-educ.com/

     ทฤษฎีปัญญาสังคมเน้นหลักการเรียนรู้โดยการสังเกต (Observational Learning) (Bandura, 1971) บันดูรามีความเชื่อว่าการเรียนรู้ของมนุษย์ส่วนมากเป็นการเรียนรู้โดยการสังเกตหรือการเลียนแบบ เนื่องจากมนุษย์มีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมที่อยู่รอบ ๆ ตัวอยู่เสมอผู้เรียนต้องสามารถที่จะประเมินได้ว่าตนเลียนแบบได้ดีหรือไม่ดีอย่างไร และจะต้องควบคุมพฤติกรรมของตนเองได้ด้วย บันดูรา จึงสรุปว่า การเรียนรู้โดยการสังเกตจึงเป็นกระบวนการทางการรู้คิดหรือพุทธิปัญญา
     โดยบันดูราเสนอขั้นตอนของการเรียนรู้โดยการสังเกต 4 ขั้นตอน ดังนี้

          1. ขั้นให้ความสนใจ (Attention Phase) ถ้าไม่มีขั้นตอนนี้ การเรียนรู้อาจจะไม่เกิดขึ้น เป็นขั้นตอน ที่ผู้เรียนให้ความสนใจต่อตัวแบบ (Modeling) ความสามารถ ความมีชื่อเสียง และคุณลักษณะเด่นของตัวแบบจะเป็นสิ่งดึงดูดให้ผู้เรียนสนใจ

          2. ขั้นจำ (Retention Phase) เมื่อผู้เรียนสนใจพฤติกรรมของตัวแบบ จะบันทึกสิ่งที่สังเกตได้ไว้ในระบบความจำของตนเอง ซึ่งมักจะจดจำไว้เป็นจินตภาพเกี่ยวกับขั้นตอนการแสดงพฤติกรรม

          3. ขั้นปฏิบัติ (Reproduction Phase) เป็นขั้นตอนที่ผู้เรียนลองแสดงพฤติกรรมตามตัวแบบ ซึ่งจะส่งผลให้มีการตรวจสอบการเรียนรู้ที่ได้จดจำไว้

          4. ขั้นจูงใจ (Motivation Phase) ขั้นตอนนี้เป็นขั้นแสดงผลของการกระทำ (Consequence) จากการแสดงพฤติกรรมตามตัวแบบ ถ้าผลที่ตัวแบบเคยได้รับ (Vicarious Consequence) เป็นไปในทางบวก (Vicarious Reinforcement) ก็จะจูงใจให้ผู้เรียนอยากแสดงพฤติกรรมตามแบบ ถ้าเป็นไปในทางลบ (Vicarious Punishment) ผู้เรียนก็มักจะงดเว้นการแสดงพฤติกรรมนั้น ๆ

ภาพประกอบที่ 2 แสดงปัจจัยที่ส่งผลต่อการแสดงออกของพฤติกรรม.png

ภาพประกอบที่ 2 แสดงปัจจัยที่ส่งผลต่อการแสดงออกของพฤติกรรม

อ้างอิง
Bandura, (1971).  Social Learning Theory. N.Y. : General Learning.

129850958_4145511148809267_1881222501987720447_n.jpg
img_fedcb34ec0cbfb9f4707d2bffff27dff.png
logo_a.jpg
LOGOBUU2.png
aett-logo.png
179305370_818983392042967_46191314247142

ติดต่อ

เบอร์โทรติดต่อ

083 569 4694

  • สีขาวไอคอน Facebook
  • ไอคอนสีขาว YouTube
  • 10000-01

ที่อยู่ติดต่อ

คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา

bottom of page